ข้ามไปเนื้อหา

วอยเอจเจอร์ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วอยเอจเจอร์ 2
Model of a small-bodied spacecraft with a large, central dish and many arms and antennas extending from it
โมเดลของยาน "วอยเอจเจอร์
ประเภทภารกิจสำรวจดาวเคราะห์
ผู้ดำเนินการNASA / JPL[1]
COSPAR ID1977-076A[2]
SATCAT no.10271[3]
เว็บไซต์voyager.jpl.nasa.gov
ระยะภารกิจ47 ปี 4 เดือน 18 วัน ผ่านไป
ภารกิจดาวเคราะห์: 12 ปี, 1 เดือน, 12 วัน
ภารกิจระหว่างดวงดาว: 35 ปี 3 เดือน 5 วัน ผ่านไป (ดำเนินต่อ)
ข้อมูลยานอวกาศ
ผู้ผลิตJet Propulsion Laboratory
มวลขณะส่งยาน825.5 กิโลกรัม (1,820 ปอนด์)
กำลังไฟฟ้า470 วัตต์ (ตอนปล่อยยาน)
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้นAugust 20, 1977, 14:29:00 (1977-08-20UTC14:29Z) UTC
จรวดนำส่งTitan IIIE
ฐานส่งCape Canaveral LC-41
บินผ่านดาวพฤหัส
เข้าใกล้สุด9 กรกฎาคม ค.ศ.1979, 22:29:00 UTC
ระยะทาง570,000 กิโลเมตร (350,000 ไมล์)*
บินผ่านดาวเสาร์
เข้าใกล้สุด26 สิงหาคม ค.ศ.1981, 03:24:05 UTC
ระยะทาง101,000 km (63,000 mi)
บินผ่านดาวยูเรนัส
เข้าใกล้สุด24 มกราคม ค.ศ.1986, 17:59:47 UTC
ระยะทาง81,500 km (50,600 mi)
บินผ่านดาวเนปจูน
เข้าใกล้สุด25 สิงหาคม ค.ศ.1989, 03:56:36 UTC
ระยะทาง4,951 km (3,076 mi)
 

วอยเอจเจอร์ 2 (อังกฤษ: Voyager 2) คือยานสำรวจอวกาศแบบไม่มีคนบังคับที่เดินทางระหว่างดาวเคราะห์ ขึ้นสู่อวกาศเมื่อ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1977 เป็นยานสำรวจอวกาศในโครงการวอยเอจเจอร์ ซึ่งมียานพี่อีกลำหนึ่งคือยานวอยเอจเจอร์ 1

ยานวอยเอจเจอร์ 2 ถูกส่งขึ้นไปให้โคจรเป็นเส้นโค้งตามระนาบสุริยวิถี โดยเตรียมการให้สามารถเดินทางเข้าใกล้ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน ด้วยการอาศัยแรงเหวี่ยงจากแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์ซึ่งมันจะต้องเดินทางผ่านในปี ค.ศ. 1981 จากเส้นทางโค้งนี้ทำให้วอยเอจเจอร์ 2 ไม่สามารถมองเห็นดวงจันทร์ไททันในระยะใกล้ได้เหมือนกับยานวอยเอจเจอร์ 1 แต่มันก็ได้เป็นยานเพียงลำเดียวที่ได้เดินทางไปใกล้ดาวยูเรนัสกับดาวเนปจูน ซึ่งเป็นการบรรลุภารกิจของโครงการสำรวจดาวเคราะห์ครั้งใหญ่ (Planetary Grand Tour) เส้นการเดินทางนี้สามารถทำได้เพียงครั้งเดียวในรอบ 176 ปี[4]

จากสถิติ วอยเอจเจอร์ 2 อาจเป็นยานสำรวจอวกาศที่มีประสิทธิผลมากที่สุด ด้วยผลงานคือการไปเยือนดาวเคราะห์ 4 ดวงพร้อมกับดวงจันทร์ของมัน โดยเฉพาะดาวเคราะห์ 2 ใน 4 ดวงนั้นเป็นดาวเคราะห์ที่ยังไม่เคยมีการสำรวจมาก่อน บนยานติดตั้งกล้องถ่ายภาพและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง โดยใช้งบประมาณเพียงเสี้ยวเดียวของเงินงบประมาณที่ทุ่มให้กับยานสำรวจอวกาศในชั้นหลัง เช่น ยานกาลิเลโอ ยานกัสซีนี–เฮยเคินส์[5][6]

ตำแหน่งปัจจุบัน

[แก้]

หลังจากสิ้นสุดภารกิจการสำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอกของระบบสุริยะ ยานวอยเอจเจอร์ 2 ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจระหว่างดาวฤกษ์ เพื่อค้นหาว่าระบบสุริยะมีหน้าตาเป็นอย่างไรเมื่อมองจากภายนอกเฮลิโอสเฟียร์ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 วอยเอจเจอร์ 2 ได้เดินทางออกไปยังเฮลิโอชีท ซึ่งเป็นด่านสุดท้ายของเฮลิโอสเฟียร์ก่อนจะออกไปสู่ห้วงอวกาศระหว่างดาว ยานวอยเอจเจอร์ทั้ง 2 ลำได้นำแผ่นดิสค์ทองคำบันทึกภาพและเสียงติดไปบนยานด้วย เผื่อในกรณีที่ว่าลำใดลำหนึ่งอาจได้พบกับสิ่งมีชีวิตอื่นที่มีสติปัญญาในจักรวาล แผ่นดิสค์นี้มีภาพของโลก สิ่งมีชีวิตบนโลก ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และเสียงบันทึกแบบเมดเล่ย์ของ "เสียงแห่งโลก" เช่นเสียงของวาฬ เสียงเด็กทารก เสียงคลื่นกระทบฝั่ง และบทเพลงอีกจำนวนมาก

26 กันยายน ค.ศ. 2008 วอยเอเจอร์ 2 อยู่ในเขตแดนไกลโพ้นของแถบหินกระจาย ที่ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ราว 87.03 AU (13,019 ล้านกิโลเมตร) และเคลื่อนที่ห่างออกไปด้วยความเร็วประมาณ 3.28 AU ต่อปี[7] ซึ่งอยู่ไกลกว่าระยะห่างระหว่างดาวพลูโตกับดวงอาทิตย์มากกว่า 2 เท่า ไกลยิ่งกว่าจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดของเซดนา

ข้อมูล ณ วันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 2009 วอยเอจเจอร์ 2 อยู่ที่เดคลิเนชัน -53.84° และไรต์แอสเซนชัน 19.783 ชม. ในบริเวณกลุ่มดาวกล้องโทรทรรศน์เมื่อมองจากโลก ยานวอยเอจเจอร์ 2 ไม่ได้ตั้งเป้าหมายมุ่งไปยังดาวฤกษ์ดวงใดเป็นการเฉพาะ แต่มันจะเดินทางผ่านดาวซิริอุสที่ระยะห่างประมาณ 1.32 พาร์เซกในอีก 296,000 ปี[8] ยานจะยังคงส่งสัญญาณกลับมายังโลกอย่างน้อยจนถึงปี ค.ศ. 2025 ซึ่งจะเป็นเวลากว่า 48 ปีหลังจากขึ้นสู่อวกาศ[9]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "VOYAGER:Mission Information". NASA. 1989. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-20. สืบค้นเมื่อ January 2, 2011.
  2. "Voyager 2". US National Space Science Data Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 20, 2009. สืบค้นเมื่อ August 25, 2013.
  3. "VOYAGER 2". N2YO. สืบค้นเมื่อ August 25, 2013.
  4. Planetary Voyage NASA Jet Propulsion Laboratory - California Institute of Technology. 23 มีนาคม 2004. เก็บข้อมูลเมื่อ 8 เมษายน 2007.
  5. "burro.astr.cwru.edu "Voyagers (1977-present)"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-22. สืบค้นเมื่อ 2009-02-08.
  6. "burro.astr.cwru.edu "Galileo (1989-2003)"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-17. สืบค้นเมื่อ 2009-02-08.
  7. Voyager Mission Operations Status Report # 2008-05-09, Week Ending May 9, 2008. เก็บข้อมูลเมื่อ 20 June 2008.
  8. "Voyager - Mission - Interstellar Mission". NASA. 2007-06-22. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
  9. "Voyager – Spacecraft – Spacecraft Lifetime". NASA Jet Propulsion Laboratory. 2008-03-15. สืบค้นเมื่อ 2008-05-25.